วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติปราจีน

ปราจีนบุรี เคยเป็นดินแดงที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และมีการพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี ประมาณ 800 ปีก่อน ปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า "เมืองศรีมโหสถ" ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถ ที่บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ ยังมีชุมชนโบราณ มีอายุร่วมสมัยเดียวกันกับเมือง ศรีมโหสถอีกด้วย บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรม ศาสนกิจและโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด เครื่องมือ เครื่องใช้ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ในสมัยต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงเช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า "เมืองปราจีน" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า "เมืองปราจิณ" หรือ "มณฑลปราจิณ" จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศมณฑลปราจิณ ได้ถูกยุบเลิก คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมือง เป็นจังหวัด จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า จังหวัดปราจีนบุรี

ประวัติวันแม่

ความหมาย
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
๑) แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
๒) ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
๓) ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติหรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและ ซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวัน เฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วยแต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของปวงชนชาวไทยทั้งมวล"ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ
ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

ประวัติวันพ่อ


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็น ผู้ริเริ่ม

หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่องจาก พ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ

อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)

ประวัติวันครู

วันครู
ความหมาย
    ครู  หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน  ผู้ถ่ายทอดความรู้  ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา  และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ประวัติความเป็นมา
   วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2500  สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา  โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา  และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ  จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร  ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
    ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี  คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา  พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย  สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
    ปี พ.ศ. 2499  ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  จอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์  ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย  เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ  วันสงกรานต์  เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ  ทำทาน  คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย  ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
    จากแนวความคิดนี้  กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ  ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก  ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป  โดยได้เสนอในหลักการว่า  เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์  ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู  และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  2499  ให้วันที่  16  มกราคม  ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
     การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  2500  ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน  งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู  หนังสือที่ระลึกวันครู  และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
     การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา  ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม  3  ประเภทใหญ่ดังนี้
     1.กิจกรรมทางศาสนา
     2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์  ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน  การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
     3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู  สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

     ปัจจุบันการจัดงานวันครู  ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ  สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา  โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน  ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ  โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
     รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา)  พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการจัดงานวันครู  พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์  จำนวน 1,000  รูป  หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา  นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน  ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์  นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี  เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์  ดังนี้
                 ปาเจราจริยา  โหนติ  คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์   ศิวะศรียานนท์)
                    ข้าขอประนมกรกระพุ่ม
อภิวาทนาการ
          กราบคุณอดุลคุรุประทาน
หิตเทิดทวีสรร
                   สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
นรยึดประคองธรรม์
          ครูชี้วิถีทุษอนันต์
อนุสาสน์ประภาษสอน
                   ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
นะตระการสถาพร
          ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
ดนุยลอุบลสาร
                    โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
          ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ
ลุฉลาดประสาทสรรพ์
                    บาปบุญก็สุนทรแถลง
ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
          เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล
มนเทิดผดุงธรรม
                    ปวงข้าประดานิกรศิษย์
(ษ)ยะคิดระลึกคำ
          ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
อนุสรณ์เผดียงคุณ
                    โปรดอวยสุพิธพรเอนก
อดิเรกเพราะแรงบุญ
          ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน
ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ
                   ปัญญาวุฒิกเรเตเต  ทินโนวาเท  นมามิหัง
          จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง  1  นาที  เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
  ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
               ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
               ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
               ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
          จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา  นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี  มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน
ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม
       จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
 
            1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
             2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
             3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่  อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์  จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
                หน้าที่การงานไม่ได้
             4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
             5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา  และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
                ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
             6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง  ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต
                 หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
             7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน  และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ
                 ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
             8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต  และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม  ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง
                 หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
             9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์  รักษาความลับของศิษย์  ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
           10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน

ประวัติวันคริสต์มาส

            คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก

คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

ประวัติวันวาเลนไทน์

ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก
ประวัติวาเลนไทน์ วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine’s Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยาย
ประวัติวันวาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศีรษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์
 
ประวัตินักบุญวาเลนไทน์
นักบุญวาเลนไทน์ ทำให้จักรพรรดิที่โรมเกิดความสำนึก และผู้พิพากษาได้กลับใจมาเป็นคาทอลิกเพราะท่านนักบุญทำให้บุตรสาวของเขาหาย จากตาบอด
วา เลนไทน์ บวชเป็นพระสงฆ์ที่กรุงโรมและได้เป็นพระสังฆราชในเวลาต่อมา ท่านได้ถูกจับโดยคำสั่งของจักรพรรดิโกลดิโอ ที่ 2 เพราะท่านขึ้นชื่อลือเด่นในทางบำเพ็ญฤทธิ์กุศลหลายประการขั้นแรกจักรพรรดิ ทรงซักถามวาเลนไทน์ด้วยความมักรู้มักเห็น แต่ต่อมาทรงรู้สึกสนพระทัยในคำสอนของคริสตัง ที่สุดพระองค์ตรัสว่า : “คำสอนของบุรุษผู้นี้ฟังแล้วจับใจจริง ๆ แต่ในขณะที่พระองค์ทรงเริ่มมีความเชื่อ ท่านผู้ว่าราชการกรุงโรมก็จัดให้ผู้พิพากษานายหนึ่งเข้ามาซักถามท่านวาเลน ไทน์ ผู้พิพากษาคนนี้เยาะเย้ยท่านในเรื่องที่คริสตังชอบกล่าวว่าพระคริสต์ทรงเป็นองค์ความสว่างของโลก
ลูกสาวของผู้ พิพากษาคนนี้ตาบอด วาเลนไทน์ได้ทำอัศจรรย์ให้หาย อัสเตริอุส ผู้พิพากษาจึงกลับใจเชื่อถึงพระเยซูคริสตเจ้า เมื่อเห็นดังนั้น ท่านผู้ว่าราชการเกิดความอิจฉา และต้องการกำจัดท่านวาเลนไทน์ จึงจับท่านวาเลนไทน์ไปขังไว้ในคุกมืด แล้วใช้ไม้เป็นปุ่มเป็นตาเฆี่ยนท่านอย่างสาหัส ที่สุดนำท่านไปตัดศีรษะ นักบุญวาเลนไทน์ เป็นองค์อุปถัมภ์ของชาวเมืองตารัสก็อง (ภาคใต้ของฝรั่งเศส)

โกะ คือ

หมากล้อ

หมากล้อม หรือ โกะ (ญี่ปุ่น: 囲碁 (いご), โรมะจิ: igo (อิโกะ); จีน: 围棋, พินอิน: Wei Qi (เหวยฉี); อังกฤษ: Go) นั้นเดิม ถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน ในภาษาจีน เรียกโกะว่า "เหวยฉี" (Wei Qi)
เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น
ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม
โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโตกุกาว่า ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโตกุกาว่าได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงนินโบ, อิโนอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว
ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้
ใน พ.ศ. 2522 ได้เกิด "สมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ" (International Go Federation) ขึ้น มีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 15 ประเทศ ในพ.ศ. 2535 เพิ่มเป็น 50 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2526 ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่นมี 10 ล้านคน, เกาหลีมี 10 ล้านคน (เกาหลีมีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวันมี 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกามี 1 ล้านคน โกะในด้านการศึกษามา